ปริมาณโอโซนที่เหมาะสม

ข้อมูลจาก https://il.mahidol.ac.th/e-media/ecology/chapter2/chapter2_airpolution8.htm

โอโซน ตามธรรมชาติ (Good Ozone)

 

            โอโซนเป็นก๊าซที่เกิดจากโมเลกุลออกซิเจน (O2) ในชั้นสตราโตสเฟียร์ซึ่งอยู่ห่างจากพื้นผิวโลก
ประมาณ 10 - 60 กม. ก๊าซโอโซนถูกค้นพบโดย C.F. Schonbein ใน ค.ศ. 1839 และในปี ค.ศ. 1920 
G.M.B.Dobson นักวิทยาศาสตร์ ชาวอังกฤษ แห่งมหาวิทยาลัย ออกซ์ฟอร์ด ได้ทำการวัดปริมาณโอโซนขึ้น
โดยประดิษฐ์เครื่องมือวัด ชื่อว่า ด็อบสันสเปคโตรโฟโตมิเตอร์ (Dobson Spectrophotometer) ซึ่งต่อมา
กลายเป็นเครื่องมือที่ใช้วัดปริมาณโอโซนกันในทั่วโลกจนถึงปัจจุบัน รวมทั้งหน่วยที่ใช้วัดปริมาณโอโซน
มีชื่อว่า Dobson Unit(DU) กันทั่วโลก

             โอโซนในชั้นดังกล่าวนี้ทำหน้าที่กั้นไม่ให้รังสีอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet, UV) ส่องมายังโลก
ในปริมาณที่มากเกินไป โดยทั่วไปรังสีอัลตราไวโอเลตชนิดซี (UVC) ที่มีความยาวคลื่นในช่วง 200-80 นาโนเมตร (nm) จะทำให้เกิดโอโซนในบรรยากาศและรังสีอัลตราไวโอเลตชนิดบี (UVB) ความยาวคลื่นในช่วง
280 -320 นาโนเมตร (nm) จะถูกกั้นโดยชั้นบรรยากาศโอโซนเพื่อไม่ให้เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต ส่วนรังสี
อัลตราไวโอเลต ชนิดเอ (UVA)ที่มีความยาวคลื่น มากกว่า 320 นาโนเมตรนี้เป็นประโยชน์ต่อคนเรา  เนื่องจากช่วยในการสร้างวิตามินดีเมื่อออกซิเจนในบรรยากาศ ได้รับรังสีอุลตราไวโอเลตทำให้โมเลกุลแตกเป็นอะตอมอิสระ O + O ซึ่งจะรวมตัวกับออกซิเจนตัวต่อไปเป็น ก๊าซโอโซน O3

                                                       

 

  uv light ( < 242 nm)  

                O2 + O  O
                O2 + O O3

           ปฏิกิริยาในธรรมชาติเกิดเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่โดยมีรังสีอุลตราไวโอเลตเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาซึ่งเรียกว่า ปฏิกิริยาโฟโตเคมี ( photochemical reaction) โอโซนในชั้นสตราโทสเฟียร์จะช่วยรักษาสมดุลของรังสีจากดวงอาทิตย์(UVB) nm ไม่ให้ลงมาบนพื้นโลกมากเกินไปจนเป็นอันตรายต่อมนุษย์เนื่องจากมีผลทำให้เกิดมะเร็งผิวหนัง  เป็นอันตรายต่อ สัตว์และพืช รวมทั้งยังทำให้วัสดุและอุปกรณ์ประเภทพลาสติกพีวีซี (PVC) ยาง มีอายุ การใช้งานลดลงด้วยก๊าซ 2 กลุ่มในชั้นบรรยากาศที่มีบทบาทสำคัญมากในการทำลายโอโซนได้คือสารประกอบ

คลอรีนออกไซด์(Chlorine Oxides; ClOx) และไนโตรเจนออกไซด์(Nitrogen Oxides; Nox)  โดยไนโตรเจน
ออกไซด์มาจากไนตรัสออกไซด์(Nitrous Oxides ; N2O) ซึ่งมีจุดกำเนิดตามธรรมชาติจากกระบวนการ 
denitrication ของจุลินทรีย์และ เกิดจากฟ้าแลบฟ้าร้อง  นอกจากนี้ยังมาจากการเผาไหม้จากเชื้อเพลิงและพวกเครื่องบินที่บินเร็วเหนือเสียง(supersonic transport, SST) ที่บินเหนือชั้นอากาศที่เราหายใจแต่จะบินอยู่ในชั้นที่มีโอโซน ซึ่งปล่อยไนตริกออกไซด์ (NO)และสารพวกฮาโลเจน (Halogen) โดยเฉพาะพวกก๊าซโบรมีน(Br) ที่สามารถสลายโอโซนทำให้เกิดภาวะ รูโอโซนในชั้นบรรยากาศขึ้น แสง UVส่องมายังพื้นโลกมากขึ้น
ทำให้เกิดอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต

 

ปริมาณโอโซนกับการกําจัดเชื้อโรคต่างๆ

1. ไวรัส ปริมาณโอโซน 0.5 - 1.5 ส่วนในล้านส่วน (P.P.M.) สามารถกําจัดเชื้อไวรัสได้ 99% โดยระยะเวลาการฆ่าเชื้อต้องไม่น้อยกว่า 4 นาที*

2. แบคทีเรีย ปริมาณโอโซนที่ใช้ในการกําจัดเชื้อแบคทีเรียขึ้นอยู่กับชนิด และปริมาณของแบคทีเรีย โดยทั่วไปโอโซนเข้มข้น 10 PPM สามารถกําจัดเชื้อแบคทีเรียได้ 99% โดยระยะเวลาการฆ่าเชื้ออย่างน้อย 10 นาที

3. เชื้อรา ปริมาณโอโซนที่ใช้กับเชื้อราจะต้องใช้ปริมาณโอโซนมากกว่าการใช้กับเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรีย เนื่องจากเชื้อรามีการสร้างสปอร์ฉะนั้นในการกําจัดเชื้อรา 99 % ต้องใช้ปริมาณ โอโซนประมาณ 20 PPM ที่ระยะเวลาการฆ่าเชื้อ อย่างน้อย 30 นาที*

* ปริมาณโอโซนที่ใช้ขึ้นอยู่กับระยะเวลาสัมผัส (CONTAC TIME)

 

ปริมาณโอโซนตกค้าง

ในอากาศ PPM

ระยะเวลาสัมผัส

ผลกระทบ

0.01-0.02

ไม่จำกัด

มีกลิ่นคล้ายหญ้าสด

0.10

8 ชั่วโมง/วัน หรือไม่เกิน 40 ชั่วโมง/สัปดาห์

มีกลิ่นคาวเล็กน้อย

0.30

15 นาที/ชั่วโมง วันละไม่เกิน 4 ครั้ง

มีกลิ่นคาวมาก

0.40

ไม่ปลอดภัย

วิงเวียนศรีษะ , คลื่นไส้

0.60

ไม่ปลอดภัย

อาจมีผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ

 

* ระดับของโอโซนที่เหมาะสมที่วงการแพทย์ยอมรับคือ ไม่เกิน 0.05 P.P.M. (ข้อมูลจาก F.D.A.)

หมายเหตุ ข้อมูลนี้เป็นผลจากการใช้โอโซนที่ไม่บริสุทธิถ้าใช้โอโซนที่บริสุทธิสามารถใช้ได้ถึง 100 PPM โดยไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพ

การใช้โอโซนในการควบคุมอากาศให้บริสุทธิ์(ขณะมีคนอยู่)

ปริมาณโอโซนที่ใช้ไม่ควรเกิน 0.2 PPM เพราะป้องกันผลกระทบทางร่างกายที่อาจเกิดขึ้นได้ถ้าใช้โอโซนในความเข้มข้นที่สูงเกินไป แต่ปริมาณโอโซนต้องมากกว่าข้อมูลด้านความปลอดภัย เนื่องจากโอโซนส่วนใหญ่จะสลายตัวไป และโอโซนบางส่วนจะทําปฏิกิริยากับสารเคมีและเชื้อโรคต่าง ๆ นี้ปริมาณโอโซนขนาด 0.2 PPM นี้ไม่สามารถกําจัดเชื้อโรคและสารพิษต่างๆ ได้ทั้งหมด แต่เป็นการควบคุมปริมาณ เชื้อโรคและสารพิษให้มีปริมาณที่มากเกินไป

 

ข้อมูลจาก https://www.bigozone.com/

 

Visitors: 268,169